ประวัติบ้านเปลือย หมู่ที่ 6 ตำบลหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม
       คัดจาก หนังสือประวัติหมูบ้าน เนื้อหา โดย ตาสม (พ่อใหญ่สม มูลต้น ปราชญ์ชาวบ้าน) และตาจุฬา (พ่อใหญ่จุฬา ประธรรมสาร อดีตครูใหญ่โรงเรียนบ้านเปลือย) สำนวนโดย ตาแถว (สถิต เล็งไธสง)
       บัดนี้ จักเล่าเรื่อง วัด และหมู่บ้านเปลือย ซึ่งตั้งอยู่ฝั่งแม่น้ำเสียวให้ทานฟัง ฟังแล้วอย่านึกไปในทางอกุศลเลยนะครับ ความจริงคำว่า “เปลือย” นั่นก็คือ ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ชื่อต้นเปือยหรือตะแบกบ้านเราดี ๆ นี่เอง สำคำว่า “เสียว” นั้นก็เป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งเป็นไม้พุ่ม ต้นเหมือนแส้ชูสล้างใบเล็ก ๆ เหมือนใบมะขามป้อม ขึนอยู่ตามลุ่มน้ำทางภาคอีสานทั่วไป พอรู้แล้วท่านก็ต้องร้อง อ๋อ ซินะครับ
        หมู่บ้านนี้ตั้งขึ้นเมื่อต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณ พ.ศ. 2327 โดยพ่อเฒ่าสามคนอพยพมาอยู่ที่ตรงนี้ จากที่ต่างกันคือ พ่อเฒ่าศรีสมบัติ กับพ่อเฒ่ากระฮอก อพยบมาจากบ้านแคนซึ่งอยู่ทางเหนือของบ้านเปลือยเวลานี้ ห่างออกไปประมาณ 7 กิโลเมตรได้ แต่เวลานั้นการเดินทางต้องค้างคืน เพราะทางไปลำบากมาก ส่วนอีกคนหนึ่งได้แก่พ่อเฒ่าเมืองปาก ซึ่งเป็นชาวสุวรรณ-ภูมิ เริ่มต้นหมู่บ้านด้วย 3 หลังคาเรือน แม้จะมาจากที่ต่างกัน พ่อเฒ่าทั้งสามก็อยู่กันด้วยความสามัคคี ที่พ่อเฒ่าทั้งสามเลือกเอาทำเลนี้เป็นที่ตั้งถิ่นฐาน ก็เพราะเห็นว่ามีความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยน้ำจากลำน้ำเสียว ปู ปลา กบ เขียด มากมาย ผมได้รับคำบอกเล่าจากผู้เฒ่ารุ่นที่เกิดประมาณ 100 ปีมานี้ ถ้าใช้หนามคัดเค้าต่างเบ็ด และภายในเวลาไม่กี่นาทีก็ได้ปลาแล้ว เบ็ดอันเดียวติดปลาสองตัวก็มี คือทีแรกตัวเล็กมากิน เจ้าของเบ็ดยังไม่ทันจะไปปลดเอาปลาออก ตัวที่ใหญ่กว่าก็มากินและติดเบ็ดด้วย ท่านคิดดูเอาเองก็แล้วกันว่าเมื่อก่อนนี้ บ้านเมืองของเราอุดมสมบูรณ์สักเพียงใด ทางทิศใต้ของหมู่บ้านมีป่าขนาดใหญ่ เมื่อก่อนนี้เป็นดงทึบ มีสัตว์ป่านานาชนิด เช่น เสือ เก้ง หรือกวางก็มี พ่อใหญ่จารย์นาม เล่าให้ผมฟังว่า สมัยท่านเป็นหนุ่ม ท่านใช้ปืนเพลิงยิงสัตว์ป่า ครั้งหนึ่งท่านเห็นกวางตัวหนึ่งอยู่ใกล้ตัวท่านเพียงไม่ถึง 10 วา ท่านยกปืนขึ้นประทับยิง แต่ดินปืนอ่อนไม่สามารถหยุดเจ้ากวางตัวนั้นได้ ท่านรู้สึกเสียดายทีสุดในชีวิต
        ต่อมาอีก 4 ปี ก็มีชาวบ้านโนนน้อง (ร้างไปแล้ว) ซึ่งหนีโรคระบาดอพยพมาอยู่ด้วย 22 ครอบครัว หลังจากนั้นก็มีผู้คนอพยพมาอยู่เพิ่มขึ้นอีก จนเมื่อปี พ.ศ. 2335 มีครัวเรือนประมาณ 30 เศษ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันยกพ่อเฒ่าเมือปากชาวสุวรรณภูมิที่ว่านั้น ขึ้นเป็นหัวหน้าปกครอง หมู่บ้าน และในปีเดียวกันชาวบ้านเห็นว่ายังไม่มีวัดสำหรับบำเพ็ญกุศล การทำบุญต่าง ๆ จะต้องอาศัยวัดบ้านแคน ซึ่งทางกันดารและเป็นป่าทึบอันตราย จึงได้พร้อมใจกันหาที่ดินสร้างวัดและ พิจารณาลงความเห็นว่า บริเวณป่าทางทิศตะวันออกของหมู่บ้านเป็นที่เหมาะสมที่สุด จึงได้ช่วยกันสร้างวัดขึ้น คือวัดบ้านเปลือยที่มีอยู่เวลานี้
        วัดบ้านเปลือยแห่งนี้ เดิมใหญ่โตและมั่นคงมาก สมัยผมเป็นเด็กจำความได้ประมาณ 50 ปีมาแล้วนั้น เต็มไปด้วยต้นโพธิ์พฤกษ์อันร่มรื่นอยู่รอบด้าน ต้นตาลขึ้นกระจายอยู่ทั่ววัด และ ต้นลำดวนอยู่ทางทิศเหนือวัด ออกดอกหอมอบอวลไปทั่วบริเวณ นอกนั้นเป็นไม้ผล เช่น ต้นมะม่วง ต้นมะขาม ต้นจันทน์ ที่ยังเหลืออยู่บ้างเวลานี้ แต่น่าเสียดายต้นโพธิ์ ซึ่งถูกสมภารผู้ไม่เข้าใจคุณค่าของป่าไม้บางคน โค่นจนเหลืออยู่เพียงต้นเดียวทางทิศใต้ของวัด ไม้ต้นนี้ดูเหมือนผมเป็นผู้นำต้นเล็กมาปลูกไว้เมื่อ พ.ศ. 2498 ขณะที่บวชเป็นพระอยู่ที่นั่น
        สมัยผมเป็นเด็กอายุ 6 – 7 ขวบนั้น วัดบ้านเปลือยยังมีกุฏิหลังใหญ่ ๆ อยู่ สาม หลัง มุงด้วยกระเบื้องดินขอ รั้งวัดทำด้วยไม้ต้นใหญ่ ๆ มีลวดลายสวยงาม พระพุทธรูปทำด้วยไม้ฉาบด้วยทอง และเป็นพระพุทธรูปยืนธรรมมาสทำด้วยไม้สลักลาย สวยงามมาก ที่จำได้ติดตาก็คือ มีรูปเขียดตาปาดและคางคกสลับกัน ส่วนโบสถ์นั้นเหลือแต่สิมน้ำปลูกอยู่ในสระใหญ่ทางทิศเหนือของวัดเวลานี้ น้ำใสเต็มใบด้วยบัวหลวงออกดอกขามเต็มสระสวยงามเหลือประมาณ พระภิกษุองค์แรกของวัดบ้านเปลือยนั้น เป็นบุตรชายของพ่อเฒ่ากระฮอกนั่นเอง ซึ่งเดิมบวชอยู่ที่วัดบ้านแคน แล้วได้รับนิมนต์มาอยู่เป็นสมภารวัดบ้านเปลือย ปีต่อมามีพระมาบวชเพิ่มเติมอีก องค์สำคัญคือพระสอน ซึ่งบวชอยู่หลายปี จนได้เป็นยาครู (อาจารย์อาวุโส) หลังจากสิ้นบุญญาครูสอน ก็มีพระบุญมาเป็นเจ้าอาวาสได้ 8 พรรษาก็ถึงแก่มรณภาพ หลังจากนั้นญาครูบุญมีเป็นเจ้าอาวาสครองวัดต่อมาเป็นเวลาถึง 21 พรรษา หลังจากนั้นก็มีพระครองวัดเรื่อยมา เป็นเวลาสั้นบ้างยาวบ้าง ระหว่าง 5 – 18 ปี โดยวัดไม่เคยร้างเลย นับได้ดังนี้คือ พระอาจารย์พรมมา พระอาจารย์เสา พระอาจารย์พรมมาอีกคนหนึ่ง พระอาจารย์ลอด พระอาจารย์ผม พระอาจารย์บุดดี พระอาจารย์เนตร พระอาจารย์เลง พระญาครูจันทร์ พระอาจารย์บุญโฮม พระอาจารย์ทองสา พระอาจารย์อุตสาห์ พระอาจารย์ทองดี พระอาจารย์สวน พระอาจารย์เส็ง พระอาจารย์ทองดา และปัจจุบันพระอธิการจันดี ปุณณโก เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2518 เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน และเป็นเจาคณะตำบลด้วย
        สำหรับการเผยแพร่ขยายของหมู่บ้านนั้น ค่อนข้างช้า เพราะที่ดินทำกินมีจำกัด เมื่อผู้คนมากขึ้นที่ดินทำกินน้อยลง ก็มักจะอพยพไปอยู่ที่อื่นเป็นเนือง ๆ ปัจจุบันมีครอบครัวร้อยเศษ ประชากร 605 คน มีผู้ใหญ่บ้านสืบทอดกันมาตั้งแต่มีกฏหมายการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็นต้นมาจำนวนไม่น้อยกว่า 10 คน
       ผมจำได้ว่า ตรงทางแพร่งกลางหมู่บ้านเปลือยมีต้นมะขามใหญ่ และถัดมาทางตะวันตกเป็นป่าดอกเกดขึ้นอยู่หนาแน่น ออกดอกหอมอบอวลไปทั่วหมู่บ้าน แสนจะชื่นใจเมื่อเวลาเดินผ่าน ตะวันออกหมู่บ้านมีป่าดอนปู่ตา หนาทึบ ผมเคยไปหาหน่อไม้มาแกงในหน้านา เคยไปแก้บนกับคุณแม่ แล้วผมก็ได้กินไข่ต้ม เป็นที่ร่มรื่น เต็มไปด้วยใบไม้ที่ทับถมเป็นปุ๋ยธรรมชาติอันอุดม หน้านาน้ำเซาไหลลงสู่ทุ่งนาทำให้ข้าวงาม ทางหัวนอนหรือทางทิศใต้หมู่บ้านมีป่าใหญ่ ต้นรัง ต้นพะยอมออกดอกสะพรั่งในต้นคิมหันตฤดู มีต้นเต็งซึ่งผมเคยไปเก็บชันมาบดผสมน้ำมันยาง ทาครุ ไม้ไผ่สูงตระหง่านใบหนาจรดกันแทบมองไม่เห็นฟ้า ข้างล่างเป็นต้นต่องแล่งพุ่มเตี้ย กอปงและต้นกระเจียวแถวชายป่า มีทั้งสิงสาราสัตว์น้อยใหญ่มากมาย เห็ดก็มีทุกชนิดและมีหลายหลายจำนวนมาก ลำน้ำเสียวเต็มไปด้วยปลาขายน้อย เวลาพายเรือไปมันจะกระโดดเข้าเรือ พอถึงบ้านก็พอได้ปิ้งกิน จากวันเริ่มตั้งหมู่บ้านมาจนถึงทุกวันนี้ บ้านเปลือยมีอายุถึง 220 ปีแล้ว ทุกคนต้องร่วมมือร่วมใจ สมัครสมาน สามัคคี ร่วมกันสร้างสรรค์ พัฒนาในสิ่งที่จะเกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้อง สืบสานต่อจากบรรพบุรุษที่ปฏิบัติกันมา ให้มีความเจริญทัดเทียมกับหมู่บ้านไกล้เคียง แต่อนิจจา สิ่งประเสริฐทั้งหลายเหล่านี้ จะกลายเป็นอดีตไปเสียแล้วหรือ มันจะหวนกลับคืนสภาพเดิมได้หรือไม่ ก็ขึ้นอยู่กับความสำนึกดีของพี่น้องประชาชนทั้งหลายที่จะช่วยกันปลูกป่า อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ให้แผ่นดินที่แสนรักแสนหวงแหนแห่งนี้กลับฟื้นคืนสภาพเหมือนดังเดิมแต่อดีด ข้อสำคัญก็คือ อย่าเห็นแก่ตัว ขอให้เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
       เขียนโดย คุณตาแถว (สถิตย์ เล็งไธสง) เมื่อปี พ.ศ. 2525



        ประวัติส่วนตัว ชื่อ นายบุญเที่ยง นันชาดี สัญชาติ ไทย เชื้อชาติ ไทย ศาสนา พุทธ เกิดวันที่ 3 พฤษภาคม 2480 ภูมิลำเนาเดิม บ้านเลขที่ 60 หมู่ 5 บ้านโคกสูง ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ปัจจุบัน บ้านเลขที่ 12 หมู่ 1 บ้านนาข่า ตำบลนาข่า อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม 44120 ชื่อบิดา นายหนูจันทร์ นันชาดี ชื่อมารดา นางกว้าง นันชาดี คู่สมรส นางชารี นันชาดี (สกุลเดิม โกษาทอง) อาชีพ ทำนา มีบุตรธิดา 2 คน คือ 1. นางสมนึก สิทธิวงษ์ อาชีพ ค้าขาย 2. นายฤทรัพย์ นันชาดี อาชีพ ผู้ช่วยช่างไฟฟ้า อบต.นาข่า

        ประวัติการศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนวัดบ้านโคกสูง พ.ศ. 2490 มัธยมศึกษาปีที่ 6 การศึกษานอกโรงเรียนโรงเรียนวาปีปทุม พ.ศ.2538 ประวัติการทำงาน เป็นอาสาพัฒนาหมู่บ้านบ้านนาข่า ( อ.ส.ม. ) ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2517 - 2530 ได้รับการเลือกตั้งเป็นผู้ใหญ่บ้านบ้านนาข่า ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2531 - 2534 ได้รับการเลือกตั้งเป็นกำนันตำนาข่า ช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2534 - 2540 ปัจจุบันประกอบอาชีพเกษตรกร

        ประวัติผลงานดีเด่นด้านการพัฒนา มีส่วนสำคัญในการพัฒนาเส้นทางคมนาคม ระหว่างหมู่บ้านในเขตตำบลนาข่า ทั้งในการตัด เส้นทางใหม่ หรือพัฒนาเส้นทางเดิม ให้มีความสะดวกในการ เดินทาง รวมทั้งทำหน้าที่ชั่งน้ำหนักเด็ก และทำแบบสำรวจความจำเป็นพื้นฐาน (จปฐ.) ปฏิบัติหน้าที่ผู้ใหญ่บ้านด้วยความเอาใจใส่ ดูแลทุกข์สุขของลูกบ้านอย่างไม่ขาดตก บกพร่อง ปฏิบัติหน้าที่ช่วงดำรงตำแหน่งกำนันตำบลนาข่า โดยมุ่งพัฒนาในทุกๆ ด้านจนมี ผลงานเป็น ที่ปรากฏ รวมทั้งการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น - ประกวดหมู่บ้านได้ ลำดับที่ 1 ของอำเภอวาปีปทุม - ประกวดหมู่บ้านได้ ลำดับที่ 1 ของจังหวัดมหาสารคาม - ประกวดการออกร้านงานออนซอนกลองยาวชาววาปี ได้ลำดับที่ 1 - ประกวดหมู่บ้านได้รางวัลรองชนะเลิศ ระดับอำเภอ - เป็นตัวแทนจังหวัดมหาสารคามไปร่วมงาน ทส.ป.ช. ที่จังหวัดอุบลราชธานี - ร่วมพัฒนาหมู่บ้านต่างๆ ในเขตตำบลนาข่า ในรูปของโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการคอนกรีตหมู่บ้าน โครงการน้ำประปาหมู่บ้าน โครงการขุดลอกลำห้วย เป็นต้น - ร่วมปลูกป่ากับฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสำนักงานป่าไม้จังมหาสารคาม - บริจาคที่ดินเพื่อตัดถนนสายหนองบัวกุดอ้อ – นาข่า ช่วงระหว่างสะพานคอนกรีตเกือบถึงเขตสถานีตำรวจภูธรนาข่า - บริจาคที่ดิน 1 ไร่ เพื่อทำสำนักงานไฟฟ้าตำบลนาข่า - บริจาคที่ดินบริเวณสี่แยกกลางบ้าน เพื่อสร้างศาลาประชาคมหมู่บ้านนาข่าและทำร้านค้าชุมชน (สหกรณ์หมู่บ้าน)

        คติประจำใจ : ดีหรือชั่วอยู่ที่ตัวทำ สูงหรือต่ำอยู่ที่ทำตัว

         วิสัยทัศน์ : ตั้งใจมุ่งมั่นที่จะทำความดี เชื่อในหลักธรรมคำสอนเสมอว่า ทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว คำขวัญ: ค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน

รับเกียรติบัตรจากนายอำเภอวาปีปทุม บริจาคที่ดินสร้างศาลาประชาคมบ้านนาข่า


ร่วมปลูกป่ากับฝ่ายส่งเสริมและพัฒนาสำนักงานป่าไม้จังหวัดมหาสารคาม {jcomments on}

{jcomments on}ประวัติโดยย่อ
นายสถิตย์ เล็งไธสง


(ภาพจาก http://www.adro.coj.go.th/backup/arbsys/photo/SATHITYA.jpg)

บ้านเกิด

:

บ้านเปลือย ตำบลหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

บิดา

:

นายจันทร์ เล็งไธสง อาชีพ ทำนา

มารดา

:

นางคำตา เล็งไธสง ดาชีพ ทำนา

การศึกษา

 

 

ประถมศึกษา (ชั้นมูล)

:

โรงเรียนวัดบ้านเปลือย ตำบลหวาย อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม

มัธยมศึกษา

:

มัธยมศึกษาปีที่ 1 – มัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนเรืองวิทยา อำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม (โรงเรียนของนายจำลอง ดาวเรือง) อดีตรัฐมนตรีจากจังหวัดมหาสารคาม ระหว่างเรียนได้รับอนุมัติให้พาสชั้น คือ จากมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้ขึ้นไปเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เลยเพราะคะแนนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงถึง 93 เปอร์เซ็นต์ ผลการเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 คือ สอบได้ที่ 1

อุดมศึกษา

:

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

พ.ศ. 2505

:

เนติบัณฑิตไทย (นบท.)

พ.ศ. 2510

:

รับทุนฟูลไบรท์ไปเรียนกฎหมายที่มหาวิทยาลัยเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา สำเร็จปริญญาโท (LLM)

อาชีพ

 

 

พ.ศ. 2505

:

อาจารย์แผนกนิติศาสตร์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

พ.ศ. 2506

:

ผู้ช่วยผู้พิพากษา

พ.ศ. 2508

:

ผู้พิพากษาศาลนครพนม

 

:

หัวหน้าศาลที่หลังสวน จังหวัดชุมพร

 

:

ผู้พิพากษาศาลอุธรณ์

 

:

ผู้พิพากษาศาลฏีกา

ตำแหน่งอื่น ๆ

 

 

 

:

กรรมการในคณะกรรมการอุดมการณ์ของชาติ

 

:

ประธานคณะกรรมการยูเนสโก (UNESCO) แห่งสหประชาชาติสาขาสังคมศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ

 

:

ผู้ทรงคุณวิฒิสาขานิติศาสตร์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (มสธ.)

 

:

อาจารย์สอนสถาบันอุดมศึกษาในวิชากฎหมายอีกมากมาย รวมทั้งเขียนกฎหมายอีกมากมายเช่นเดียวกัน

เชื่อได้ว่า นายสถิตย์ เล็งไธสง เป็นคนอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม ที่ควรยกย่องนับถือและอนุชนรุ่นหลังควรเอาเป็นตัวอย่างได้ดีที่สุดหาคนเปรียบได้ยาก

แหล่งที่มาเรียบเรียง โดย อ.อำนวย ปะติเส

 

07

01

03

03

 

04

05

หนังสือราชการ กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

โครงการจิตอาสาลงแขกเกี่ยวข้าวช่วยชุมชน
โรงเรียนนาข่าวิทยาคม
ประชาคมอาเซี่ยน
กองวิจัยตลาดแรงงาน



ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ธ.ก.ส.

 

สถิติผู้เข้าชมเว็บไชต์

6765826
วันนี้
เมื่อวานนี้
เดือนนี้
เดือนก่อนนี้
ทุกวัน
2591
4922
7513
69620
6765826

Your IP: 18.220.160.216
Server Time: 2024-05-02 12:01:00
?นาข่าวิทยาคม?
นายอวยชัย  ปัจจัยมงคล
 ผู้อำนวยการโรงเรียนนาข่าวิทยาคม

หน่วยงาน โรงเรียน อบจ.มค.


สมาคมผู้บริหารโรงเรียน
รับส่งหนังสือราชการ
งัวบาวิทยาคม
โคกก่อวิทยาคม
ขามป้อมพิทยาคม
เกิ้งวิทยานุกูล
หัวเรือพิทยาคม
มัธยมดงยาง
เมืองเตาวิทยาคม
เวียงสะอาดพิทยาคม
เสือโก้กวิทยาสรรค์
หนองโกวิทชาประสิทธิ์วิทยาคม
มะค่าพิทยาคม
ศรีสุขพิทยาคม
นาสีนวนพิทยาสรรค์
เลิงแฝกประชาบำรุง
หนองเหล็กศึกษา
หนองโพธิ์วิทยาคม
หนองบัวปิยนิมิตร
ดอนเงินพิทยาคาร
ศรีสุขพิทยาคม
ท่าขอนยางพิทยาคม
กลุ่มเพื่อนครู อบจ.มหาสารคาม

เผยแพร่ผลงานทางวิชาการ